7/15/2555

การศึกษาดูงานห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศในประเทศ ประจำปี 2555 : 12 มิถุนายน 2555

        กระบวนการ/วิธีการสู่ความสำเร็จ
1.  ชุมชนแนวปฏิบัติคนใกล้หมอ งานห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ส่งบุคลากรจำนวน 3 คน คือ
        1. นางเพียงขอบฟ้า ปัญญาเพ็ชร บรรณารักษ์
        2. นางสาวพิมพรรณ ไชยวุฒิ เจ้าหน้าที่สำนักงาน
        3. นายครรชิต พรมเสพสัก พนักงานบริการฝีมือ (ด้านสำนักงาน)
เข้าร่วมกิจกรรมโครงการศึกษาดูงานห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศในประเทศ ประจำปี 2555 ซึ่งสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 23-26 พฤษภาคม 2555 โดยห้องสมุดที่เดินทางไปศึกษาดูงานมี 2 แห่งคือ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จังหวัดปทุมธานี และห้องสมุดประชาชนจังหวัดระยอง
2.  สมาชิกชุมชนฯ นำประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน เก็บเกี่ยวจุดเด่น ประเด็นประทับใจของห้องสมุดแต่ละแห่ง มาบอกเล่าต่อให้กับเพื่อนสมาชิกชุมชนฯ ดังนี้
        สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
1. การปรับแต่งทางกายภาพของห้องสมุด ใช้เวลาดำเนินการ 1 ปี โดยไม่หยุดการให้บริการ
2. บริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery) ถึงอาจารย์ที่ภาควิชา โดยใช้เจ้าหน้าที่ปั่นจักรยานรับ/ส่ง
3. บุคลากรห้องสมุดทุกคนรักการแบ่งปันความรู้ เป็นทั้งผู้เรียนรู้และผู้ถ่ายทอดความรู้
4. ด้านภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่จัดตกแต่งให้ดูทันสมัย มีสีสัน น่าดึงดูดใจให้เข้าใช้บริการ
        ห้องสมุดประชาชนจังหวัดระยอง
1. ผู้ใช้บริการเป็นกลุ่มคนรักการอ่าน
2. ห้องสมุดสำหรับเด็ก (Thai Kids) ต้นแบบของจังหวัดระยอง ได้รับการสนับสนุนจาก ปตท.
3. กิจกรรมบริการต่างๆ ของห้องสมุด เน้นการหารายได้และการแสวงหาแนวร่วม/พันธมิตรที่จะเข้ามาร่วมสนับสนุนแหล่งทุนเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาและดำเนินงานด้านต่างๆ ให้กับห้องสมุด
4. ลักษณะเด่นของบุคลากร มีความกระตือรือร้น เอาใจใส่ในงาน มีแนวคิดทางการตลาด การใช้สถิติการให้บริการเป็นข้อมูลสนับสนุนเพื่อใช้ของบประมาณดำเนินงาน
5. บริการเด่น คือ บริการห้องสมุดมือถือ เป็นบริการกล่องใส่หนังสือให้ผู้ใช้ห้องสมุดสะดวกในการขนหนังสือที่ยืมจำนวนหลายๆ เล่มออกนอกห้องสมุด คิดค่าบริการ 50 บาท

สิ่งที่เพื่อนสมาชิกชุมชนฯ ได้รับจากการร่วมกิจกรรมเล่าสู่กันฟังและเสนอประเด็นหัวข้อที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์กับการพัฒนางานของชุมชนฯ ดังนี้
1. แนวคิดในการพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการและนำเสนอบริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ
2. แนวคิดการการบริหารจัดการด้านการเงิน งบประมาณ และแสวงหารายได้เพื่อการพัฒนาห้องสมุด
3. แนวคิดการพัฒนาส่งเสริมการทำงานของบุคลากร จากแรงบันดาลใจที่เป็นแบบอย่างที่ดีเรื่องความกระตือรือร้น การใส่ใจในงานของบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ของห้องสมุดประชาชนจังหวัดระยอง
4. แนวคิดด้านบริการที่น่าสนใจของสำนักบรรณสารการพัฒนา NIDA นำมาปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับปริบทของคณะแพทยศาสตร์ได้ คือ บริการนำส่งเอกสารให้อาจารย์ที่ภาควิชา เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ได้รับหนังสือ/เอกสารทันเวลาตามความต้องการ
5. การออกแบบและการจัดการด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม ให้มีสีสัน ทันสมัย มีบรรยากาศที่ดึงดูดผู้เข้าใช้ห้องสมุด
6. แนวคิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับกับการทำงาน และการบริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น